เมนู

อรรถกถาปฏิสัมภิทา


พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน
ในอรรถ 5. บทว่า ธมฺมปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน
ในธรรม 4 อย่าง. บทว่า นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้
ญาณแตกฉานในธรรมนิรุกติ. บทว่า ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่
เป็นผู้ได้ญาณ อันแตกฉานในญาณเหล่านั้น. แต่ภิกษุผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
นั้น ย่อมรู้ญาณ 3 เหล่านั้นเท่านั้น หาทำกิจของญาณเหล่านั้นไม่. บทว่า
อุจฺจาวจานิ ได้แก่ ใหญ่น้อย. บทว่า กึกรณียานิ ได้แก่ กิจที่ควรทำ
อย่างนี้.
จบอรรถกถาปฏิสัมภิทาสูตรที่ 6

7. สีลสูตร


ว่าด้วยธรรม 5 ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ


[87] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวม
ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมี
ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงไว้

ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง-
ตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง 1 เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจาอ่อนหวาน ประกอบด้วย
วาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ 1 เป็นผู้ได้ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์.
จบสีลสูตรที่ 7

อรรถกถาสีลสูตร


สีลสูตรที่ 7

ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ศีลก็ศีลของพระขีณาสพ แม้
พาหุสัจจะก็พาหุสัจจะของพระขีณาสพ. แม้วาจาก็วาจาอันงามของพระขีณาสพ
เหมือนกัน แม้ฌานก็พึงทราบว่าท่านกล่าวว่าเป็นกิริยาฌานเท่านั้น.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 7